Improving a Sustainable World Through Innovation and Projects พัฒนาโลกสู่ความยั่งยืนด้วยนวัตกรรมและโครงงาน
WE BUILD FUTURE TOGETER
ภาพถ่ายบรรยายกาศการนำเสนอโครงงาน

PCSHS SCIENCE SYMPOSIUM

PCSHS Science Symposium มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและเผยแพร่โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนภายในกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (PCSHS) ทั้ง 12 แห่ง โดยจัดเป็นการนำเสนอผลงานโครงงานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเจ้าภาพ โดยนอกจากเป็นการแสดงผลงานของนักเรียนแล้ว ยังเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพสอดรับกับความต้องการของประเทศ และนำองค์ความรู้มาพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต

Improving a Sustainable World through Innovation and Projects

ปฏิทิน

การนำเสนอ ONSITE
17–25 กรกฎาคม

ลงทะเบียนและส่งบทคัดย่อ

ลงทะเบียนแข้าสู่ระบบ ยืนยัน ส่งบทคัดย่อ และส่งบทความหลังได้รับคำเชิญในระบบ ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม ผ่านทางเว็บไซต์ https://3rdpss2023.pcshsbr.ac.th

เข้าสู่ระบบ
4–6 กันยายน

The 3rd PCSHS Science symposium 2023

งาน The 3rd PCSHS Science symposium 2023 จะจัดขึ้นในวันที่ 4–6 กันยายน 2566 ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ โดยสามารถดูตารางกิจกรรมได้ด้านล่าง

การนำเสนอ ONLINE
17-31 กรกฎาคม

ลงทะเบียนการนำเสนอแบบ Online

นักเรียนที่นำเสนอรูปแบบออนไลน์ (ไม่ได้เดินทาง) สามารถลงทะเบียนได้ผ่านเว็บไซต์แยกสำหรับกรณีออนไลน์ที่ https://www.pcshsbr.ac.th/pcshs_symposium2023_vdo/

ลงทะเบียน
14-18 สิงหาคม

ส่งวีดีโอนำเสนอ

อัพโหลดบทความและคลิปวิดีโอผ่านช่อง YouTube ของโรงเรียน ภายในวันที่ 14–18 สิงหาคม

26 สิงหาคม

ประกาศผลการตัดสิน

คณะกรรมการรวบรวมคะแนนและดำเนินการประกาศผลการตัดสิน

กำหนดการและลำดับนำเสนอ

3 กันยายน 2566
13:00 น. – 18:00 น.

ลงทะเบียน/เข้าที่พัก ติดตั้งโปสเตอร์และนำส่งไฟล์นำเสนอ

สถานที่ อาคารหอสมุดและแหล่งเรียนรู้
18:00 น. – 19:00 น.

รับประทานอาหารเย็น

สถานที่ โรงอาหาร
19:00 น. – 20:00 น.

ชี้แจงกิจกรรม

สถานที่ โรงยิม

แผนที่โรงเรียน

คลิกที่นี่เพื่อดูแผนที่โรงเรียน

ภาพแผนที่โรงเรียนแบบคร่าว ๆ

ทัศนศึกษา

ภาพด้านหน้าปราสาทเขาพนมรุ้ง มีพระอาทิตย์ส่องลอดตรงกลางภาพ ถ่ายโดยสิทธิพงษ์ อินทะนิน

เขาพนมรุ้ง

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่

อ่านต่อ
ภาพถ่ายภายในสนามช้างอารีนา แสดงสนามหญ้าแท้และแสตน

ช้างอารีนา

ช้างอารีนา (อังกฤษ: Chang Arena, ชื่อเดิม: ไอ-โมบาย สเตเดียม) มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า ธันเดอร์คาสเซิลสเตเดียม (อังกฤษ: Thunder Castle Stadium) เป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ สนามแห่งนี้มีความจุ 24,000 ที่นั่ง (ในปี พ.ศ. 2557 ได้ต่อเติมเป็น 32,600 ที่นั่ง) โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนภายใต้สัญญาการกำหนดชื่อจากไอ-โมบายและบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบ จัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานระดับโลกจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ,มาตรฐานสนามกีฬาระดับเอจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน และยังได้บันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน

อ่านต่อ
สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์

วิทยากร

วิทยากร

ดร.สุพรรณ ยอดยิ่งยง

คว้ารางวัล Special Prize (On stage) จากผลงาน "กระบวนการสังเคราะห์ซิลิกาแอโรเจลต้นทุนต่ำด้วยการทำแห้งที่ความดันบรรยากาศ" จาก INDONESIAN INVENTION AND INNOVATION PROMOTION ASSOCIATION (INNOPA) ประเทศอินโดนีเซีย ในงาน Bitgaram International Exposition of Electric Power Technology (BIXPO 2015) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 - 14

ดาวน์โหลดเอกสาร

ชื่อเอกสาร รายละเอียด ดาวน์โหลด
กำลังโหลด...